วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551

ความปลอดภัยทั่วไป


สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
1. เกิดจากผู้ปฏิบัติงาน
2. เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
3. เกิดจากสภาพของเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ


1. สาเหตุที่เกิดจากผู้ปฏิบัติงาน
อุบัติเหตุจากผู้ปฏิบัติงาน อาจจะเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ
- การแต่งกายไม่เหมาะสม เช่น ชุดที่สวมใส่, การสวมเครื่องประดับ ฯลฯ
- สภาพร่างกายไม่พร้อมที่จะปฏิบัติงาน เช่น ร่างกายอ่อนเพลียแต่ยังฝืนปีนบันไดขึ้นไปเก็บของ ฯลฯ
- การใช้เครื่องมือไม่ถูกกับงาน เช่น นำไขควงไปใช้แทนสกัด ฯลฯ
- ไม่ชอบเก็บของ ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยส่วนตัว เช่น ใช้เครื่องมือแล้วไม่เก็บ อาจจะเดินไปเหยียบทำ

ให้ลื่นล้มได้ ฯลฯ
- ไม่มีประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือ เช่น ซื้อเลื่อยมาใหม่ ไม่อ่านคำแนะนำการใช้ อาจทำให้เกิด

อุบัติเหตุได้ ฯลฯ

- ไม่เห็นความจำเป็นต่อความปลอดภัย เช่น ที่โรงฝึกงานกำหนดให้สวมหมวกนิรภัย แต่ไม่สวมอาจ

จะมีเศษอะไรหล่นใส่ศีรษะ ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ ฯลฯ

2. สาเหตุที่เกิดจากสภาพแวดล้อม
อุบัติเหตุจากสภาพแวดล้อม อาจจะเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ คือการจัดสภาพภายในโรงฝึกงาน

ไม่เรียบร้อย เช่น การวางสิ่งของ เครื่องมือเกะกะ ฯลฯ

- ระบบแสงสว่างภายในโรงฝึกงานไม่เพียงพอ
- ระบบระบายอากาศในโรงฝึกงานไม่ดีพอ
- ระบบการป้องกันเสียงในโรงฝึกงานไม่ดีพอ
- การกำหนดสถานที่ภายในโรงฝึกงาน ไม่มีการวางแผนที่ดี
- การจัดเส้นทางการขนถ่ายในโรงฝึกงานไม่ดีพอ

3. สาเหตุที่เกิดจากสภาพของเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ
อุบัติเหตุจากเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่าง อาจจะเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ
- สภาพของเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ ไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน
- อุปกรณ์ป้องกันอันตรายชำรุด


การป้องกันการเกิดอัคคีภัย
การเกิดอัคคีภัยจะทำความเสียหายให้กับตนเอง และผู้อื่น เพราะฉะนั้นผู้เรียนควรจะศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดอัคคีภัย ชนิดของการอัคคีภัย ว่าจะต้องใช้อะไรในการดับไฟที่เกิดขึ้น ซึ่งมีการแบ่งชนิดของอัคคีภัยอยู่ 4 ประเภท คือ ประเภท A ประเภท B ประเภท C ประเภท D

ประเภท A หมายถึง อัคคีภัยที่เกิดจากวัสดุที่เป็นประเภท ไม้, กระดาษ, เสื้อผ้า ฯลฯ วัสดุที่ใช้ใน

การดับเพลิงคือ “น้ำ”

ประเภท B หมายถึง อัคคีภัยที่เกิดจากวัสดุไวไฟ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซที่ติดไฟทุกประเภท

วัสดุที่ใช้ในการดับเพลิง คือ “สารเคมีต่างๆ เช่น โซเดียมไบคาร์บอเนต,

แมกนีเซียมคาร์บอเนต รวมทั้งโฟมหรือฟองเคมี ฯลฯ

ประเภท C หมายถึง อัคคีภัยที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด วัสดุที่ใช้ในการดับเพลิง คือ

“น้ำยาเหลวระเหยชนิดคาร์บอนเทตระคลอไรด์” ข้อควรระวังคือ จะต้องระวัง

โดนไฟฟ้าดูด ขณะปฏิบัติหน้าที่ดับเพลิง

ประเภท D หมายถึง อัคคีภัยที่เกิดจากโลหะที่มีคุณสมบัติในการติดไฟ เช่น โซเดียม โปแตสเซียม

แมกนีเซียม ฯลฯ วัสดุที่ใช้ในการดับเพลิงประเภทนี้ คือ “สารดับเพลิงประเภท

ใช้สารเคมีชนิดผสมด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต, แมกนีเซียมคาร์บอเนต,

แกรไฟต์พิเศษ ฯลฯ

1 ความคิดเห็น:

นภาดา มณีรัตน์ กล่าวว่า...

โดยทั่วไปแล้ว ปัญญาชนทุกคนก็น่าจะรู้ถึงปัญหา
สาเหตุของภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นอยู่แล้วทั้งสิ้น
แต่สาเหตุที่ยังเกิดขึ้นเพราะ ความไม่ตระหนัก และความประมาท ทั้ง 2 ข้อนี้เป็นวิสัยปกติของพี่ไทยอยู่แล้ว